วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สมอง

สมอง : มหัศจรรย์แห่งการเรียนรู้
         ประดิษฐกรรมธรรมชาติที่น่าพิศวงที่สุด คือ สมอง กลุ่มเซลล์ที่มีน้ำหนักเพียง 1.3 - 1.5 กิโลกรัม แต่มีหน้าที่และระบบการทำงานแสนซับซ้อน อวัยวะส่วนอื่นอาจทำงานน้อยลงในยามหลับ แต่สมองยังคงทำงานทั้งยามหลับและตื่นควบคุมทั้งสติปัญญา ความฉลาด ความคิด ความจำ พฤติกรรม บุคลิกภาพ การทำงานของหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกัน และฮอร์โมน
         ข้อมูลจากการวิจัยใหม่ๆ ยืนยันว่าพัฒนาการของสมองขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยสำคัญ คือ พันธุกรรม (ปัจจัยภายใน) และสิ่งแวดล้อมการเลี้ยงดู (ปัจจัยภายนอก) นักวิจัยอเมริการะบุว่าเด็กอายุ 3 ขวบ ที่ป่วยเป็นโรคออทิสซึ่มแต่กำเนิดยังสามารถฟื้นฟูจนมีพัฒนาการปกติได้ หากเด็กได้รับการดูแลและฝึกฝนอย่างเหมาะสม เด็กปกติแต่โชคร้ายที่อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่ดี ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมก็อาจกลายเป็นเด็กไม่ปกติได้เช่นกัน
สมองเริ่มสร้างตั้งแต่ในครรภ์
         วันที่ 18 หลังการปฏิสนธิของชีวิตเซลส์ส่วนหนึ่งจะเติบโตเป็นสมอง จากเนื้อเยื่อกลายเป็นแผ่นบางๆ 1 เดือนต่อมา แผ่นบางนั้นจะโค้งงอมาบรรจบกันเหมือนหลอดกาแฟ กลางเดือนที่ 2 หลอดกาแฟจะโป่งออกและเติบโตเป็นสมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง
         เดือนที่ 2-4 เซลส์สมองจะแบ่งตัวรวดเร็วประมาณ 250,000 เซลส์ต่อนาที ขณะเดียวกันก็มีการตายเซลส์เกิดขึ้นตามธรรมชาติประมาณ 30-50% เซลส์เหล่านี้จะเคลื่อนย้ายตัวเองไปยังตำแหน่งต่างๆ ของสมองเพื่อเตรียมทำหน้าที่ของตน เดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ เซลส์ประสาทจะเริ่มมีการจัดลำดับตัวเองเป็นชั้นๆ บริเวณพื้นผิวสมองหรือที่เรารู้จักกันในนาม “คอร์เท็กซ์” เซลส์ประสาทจะเรียงกันเป็น 6 ชั้น และจะสร้างเส้นใยประสาทขึ้นมา เซลส์จะพูดคุยกันผ่าน “เส้นใยประสาท” โดยมีจุดเชื่อมต่อระหว่างเส้นใยที่รับข้อมูลเข้า และเส้นใยที่ส่งข้อมูลออก เรียกว่า “ซีนแนปส์” รอบๆเส้นใยประสาทจะมีไขมันห่อหุ้มเพื่อเป็นฉนวนให้แต่ละชุดเซลส์สื่อสารกัน อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ปฐมวัย2.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น